การดื่มนมของเด็กเล็ก เป็นปัจจัยที่ทำให้ฟันผุ ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยลักษณะการดื่มของเด็ก ยิ่งถ้าปล่อยให้เด็ก หลับคาขวดนมยิ่งกระตุ้นให้เด็กฟันผุได้มาก และมีความรุนแรงรวดเร็ว “สุขภาพฟันของเด็ก” หลายๆครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่มีแนวทางดูแลที่ชัดเจน นั่นจึงทำให้เด็กเริ่มมีปัญหาสุขภาพฟันตั้งแต่ “ฟันน้ำนม” ขึ้นและอาจจะส่งผลเสียต่อเนื่องไปสู่ ฟันแท้ เมื่อโตขึ้นได้
เดนทีค เด็นทัล แคร์ ให้คำแนะนำว่า ปัญหาฟันผุ ยังเป็นปัญหาหลัก ด้วยเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในขี้ฟัน ซึ่งอาจทำให้เด็กฟันผุตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น เกี่ยวเนื่องมาจากนมและพฤติกรรมในการเลี้ยงดูแลของผู้ปกครองอีกด้วย การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม พ่อแม่จำเป็นต้อง ทำความสะอาดในช่องปากของเด็ก ตั้งแต่ฟันยังไม่ขึ้น โดยนำผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดเหงือกและทำความสะอาดกระพุ้งแก้มให้ทั่ว หลังจากดื่มนมเสร็จ ในกรณีที่เด็กเริ่มมีฟันขึ้น ก็สามารถใช้ผ้าเช็ดเหงือก ควบคู่ไปกับการแปรงฟัน
การดื่มนมของเด็กเล็ก เป็นปัจจัยที่ทำให้ฟันผุ ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยลักษณะการดื่มของเด็ก ยิ่งถ้าปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม ยิ่งกระตุ้นให้เด็กฟันผุมากยิ่งขึ้น ปัญหาฟันของเด็กส่วนใหญ่เกิดจาก ฟันหน้าบน มีการผุ เนื่องจากเป็นส่วนสัมผัสกับน้ำนม หากเด็กดูดนมจากขวด เด็กบางคนมีอาการฟันผุอย่างรุนแรง อายุแค่ 2 ขวบ มีปัญหามากแล้ว และส่วนต่อมาต้องระวังคือ ฟันกรามด้านใน
ถ้าฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นต้องทำความสะอาดให้ดี ควรแปรงฟันตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนช่วยเพราะต่อให้มีการดีไซน์แปรงสีฟันดีอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่าจะแปรงสะอาดทั้งหมด ผู้ปกครองสามารถทำได้ก็คือควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นไปจนถึงอายุไม่เกิน 1 ปี
พอพูดถึงการดูแลสุขภาพฟัน ตั้งแต่ฟันน้ำนม ถือเป็นรากฐานของฟันแท้ที่ดี ซึ่งหน้าที่ของฟันน้ำนมคือ จะกันที่ให้ฟันแท้ได้ขึ้นตำแหน่งที่ควรเป็น พบปัญหาเรื่องฟันผุในเด็ก การเคี้ยวเพื่อย่อยอาหารจะมีปัญหา มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเพราะถ้าฟันน้ำนมหลุดก่อนกำหนด ย่อมมีผลต่อฟันแท้ ในการเกิดฟันซ้อนกัน จนทำให้ฟันแท้ขึ้นไม่ได้
เด็กเล็กกับปัญหาเรื่องฟัน ในช่วงแรกอาจสังเกตยาก แต่ครอบครัวก็สามารถตรวจดูได้ ถ้าสีของฟันเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น อาจเป็นปัญหา ซึ่งถ้าฟันน้ำนมผุย่อมส่งผลให้ฟันแท้มีปัญหาผุไปด้วยเพราะมีเชื้อตกค้างอยู่ในช่องปาก
ผู้ใหญ่ที่มีอาการฟันผุ ก็สามารถติดเชื้อสู่เด็กได้ จากการสัมผัสน้ำลาย ใช้ภาชนะเดียวกัน เชื้อที่เป็นตัวทำให้ฟันผุสามารถไปสู่ถึงเด็กได้ ดังนั้นผู้ปกครองที่ดูแลเด็กก็ควรดูแลสุขภาพฟันไปพร้อมๆกับเด็กด้วย
เมื่อพูดถึงอาหารการกินไม่ควรให้เด็กกินจุกจิก เพราะทุกครั้งที่คุณให้เด็กกิน น้ำตาลเข้าสู่ปาก แล้วเปลี่ยนเป็นกรดที่กัดเนื้อฟันทำให้ฟันผุ ดังนั้นการกินพอดี ไม่กินจุกจิก จะช่วยลดโอกาสในการเกิดฟันผุได้อย่างน้อยผุ้ปกครองควรพาลูกน้อยพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เนื่องจากบางรายอาจมีปัญหาซ่อนอยู่ ซึ่งรักษาตั้งแต่เนิ่นๆจะดีกว่า